วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รีวิว : HONDA FREED 7 ที่นั่งของคนเมือง


หลายปีให้หลังตลาดรถยนต์บ้านเราดูเหมือน ว่านักเลงรถทั้งหลายเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง
เลือกซื้อรถยนต์ที่เหมาะกับบุคลิก รวมถึงลักษณะการใช้งานที่แท้จริงและหลากหลายมากขึ้น




เห็นได้จากรถ ยนต์หน้าตาแปลกๆ ในเซ็กเมนต์เดิมที่มีทำตลาดอยู่
อีกทั้งเกิดเซ็กเมนต์ ใหม่ๆ ให้ไว้ได้เลือกใช้กันตรงกับความต้องการมากที่สุด

อย่างล่าสุด "ฮอน ด้า" ตัดสินใจเปิดตัว "ฟรีด" (Freed) รถอเนกประสงค์ หรือเอ็มพีวี ขนาดกลาง
ซึ่งเป็นเซ็กเมนต์ที่ยังขาดอยู่ เพราะส่วนใหญ่ทั้งเจ้าของแบรนด์เอง หรือผู้นำเข้าอิสระ ต่างมุ่งไปที่เอ็มพีวีขนาดใหญ่

แต่ด้วยเพราะราคาที่เกินเอื้อมทำให้หลายคนได้แต่มองแล้วหวังว่าวันหนึ่งจะได้เป็นเจ้าของ

ฮอนด้า มองเห็นช่องว่างนี้เองจึงได้นำฟรีดเข้ามาทำตลาด ผนวกกับมาตรการด้านภาษีของอาฟต้า
เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค.2553 ที่ผ่านมา ทำให้ฟรีดที่นำเข้าจากอินโดนีเซีย ทำราคาได้น่าสนใจ

ก่อนที่จะเริ่มทำตลาดอย่างเป็นทางการ ทีมงานประชาสัมพันธ์ฮอนด้าจัดให้กระจอกข่าวร่วมทดสอบฟรีด
บนเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ขับกันไปแบบชิลชิลสลับกันคนละประมาณเกือบๆ 100 กิโลเมตร

ข่าวสด ยานยนต์" เลือกเป็นผู้โดยสารก่อน หวังจะได้สำรวจตรวจตราภายในให้เต็มที่เสียตั้งแต่แรก
เบาะนั่งแบบผ้าขนาดไม่ใหญ่มากนัก ทำให้ชายไทยร่างอวบเต่งต้องขยับอยู่สักพักถึงจะลงตัว
อุปกรณ์ ต่างๆ จัดวางอย่างเรียบง่าย รวมถึงวัสดุที่ใช้ดูแตกต่างจากความเป็นฮอนด้าอยู่ค่อนข้างมาก
แม้จะมีจอมอนิเตอร์ที่ใช้สำหรับชมดีวีดี และระบบนำทางเนวิเกเตอร์มาให้ก็ตาม

นั่งดูเพื่อนกระจอกข่าวจากสำนักยวดยาน วีระโชติ ดวงฤทัย ขับรถไปด้วยความเย็นใจ ทำความเร็วไปเรื่อยๆ
ตั้งแต่ออกเดินทางย่านสาทร ไปจนถึงถ.พระราม 2 ช่วงกลางๆ จุดจอดพัก และเปลี่ยนคนขับ

ช่วงที่สอง "ข่าวสด ยานยนต์" ยังคงเป็นผู้โดยสาร แต่ไปนั่งที่เบาะหลังแทน ทำให้เห็นความโดดเด่นของฟรีดคันนี้
ในเรื่องของประตูสไลด์ ที่ทำได้ทั้ง 2 ด้านแบบอัตโนมัติ เทียบได้กับรถเอ็มพีวีระดับหรู การขึ้น-ลงรถทำได้สะดวก
แม้จะจอดในที่แคบก็ตาม

นอกจากนี้ การดีไซน์ให้ภายในห้องโดยสาร สามารถเดินถึงกันในทุก ตำแหน่ง ทำให้ลุกไปหยิบของที่เบาะนั่งแถว 3
ซึ่งสามารถพับเป็นที่เก็บสัมภาระ หรือเปลี่ยนตำแหน่งคนนั่งได้อย่างอิสระ ตอบโจทย์รถเอ็มพีวีได้เป็นอย่างดี

ส่วนเบาะนั่งแถวสาม หากจะนั่งแบบเดินทางไกลควรเป็นคนที่รูปร่างไม่ใหญ่โตเกินไปนัก เพราะถ้านั่งนานๆ
อาจจะรู้สึกอึดอัดอยู่สักหน่อย




ถึงเวลาที่ "ข่าวสด ยานยนต์" จะได้ขึ้นนั่งในตำแหน่งสารถี เบาะนั่งยังเหมือนเดิม
คือต้องขยับตัวกันเล็กน้อยถึงจะได้ระดับที่ต้องการ บิดกุญแจสตาร์ตเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร
ซึ่งเป็นบล็อกเดียวกันกับที่ใช้ใน "ฮอนด้า แจ๊ซ"

เสียงเครื่องยนต์เดินเรียบ ออกตัวได้นุ่มนวล พวงมาลัยแม่นยำ การควบคุมทำได้ดี
ไม่ว่าจะช่วงทำความเร็ว เร่งแซง และเข้าโค้ง ช่วงล่างแม้จะให้ความนุ่มนวลไม่เท่าเก๋ง
แต่ไม่ได้ถึงขนาดที่เรียกว่ากระด้าง โดยเฉพาะช่วงคอสะพานหรือผ่านหลุมเนิน

เกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด ปรับเปลี่ยนได้แบบไม่มีอาการกระตุกให้ได้รู้สึก

กำลังของเครื่องยนต์ดูเหมือนว่าไม่ค่อยสัมพันธ์กับตัวรถเท่าไหร่ ช่วงทำความเร็วระหว่าง 80-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ต้องรอรอบอยู่สักพัก แต่พอผ่านไปแล้วปลายไหลได้ดีขึ้น

หากถอนคันเร่งแล้วกดไปใหม่ กว่าที่กำลังของรถจะกลับมาต้องใช้เวลาอึดใจใหญ่เลยทีเดียว
ทำให้เวลาเร่งแซงต้องใช้วิจารณญาณอยู่พอสมควร แต่ถ้าใช้เวลาทำความคุ้นเคย
และเป็นนักเลงรถที่ไม่ได้รีบร้อน เชื่อว่าไม่น่ามีปัญหาแต่ประการใด

มาว่ากันเรื่องของรูปลักษณ์ภายนอก ฮอนด้า ฟรีด ดีไซน์ออกมาในแนว "ยูโรเปี้ยน สไตล์"
มองผาดๆ แล้วคล้ายรุ่นแจ๊ซ ที่เบ่งขยายตัวใหญ่ขึ้น กระจังหน้า 3 ชั้น สีดำในรุ่น S และ E
ส่วน E Sport กับ E NAVI Sport เป็น สีเดียวกับตัวรถ

ด้านบนลาดเอียงสอดรับกับตัวถังด้านหน้า เส้นสายด้านข้างคมชัด บนพื้นผิวโค้งมน
ทำให้ดูมีมิติและให้ความรู้สึกแข็งแกร่ง ประตูข้างแบบอัตโน มัติซ้าย-ขวา เปิดได้กว้างสุด 600 ม.
เพิ่มความสะดวกด้วยรีโมตคอนโทรล

นักเลงรถที่ชอบเดินทางเป็นหมู่คณะแบบไม่รีบร้อนจนเกินไป แต่กระเป๋าไม่หนาพอซื้อรถเอ็มพีวีตัวใหญ่ได้
ฮอนด้า ฟรีด เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าจะไปทดลองขับดู

เพื่อประเมินดูว่า เหมาะกับไลฟ์สไตล์ตัวเองหรือไม่!??

ข้อมูลทางเทคนิค

แบบตัวถัง อเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง

เครื่องยนต์ SOHC 4 สูบ 16 วาล์ว i-VTEC

ความจุ 1497 ซีซี

กำลังสูงสุด 118 แรงม้า/6,600 รอบฯ

แรงบิดสูงสุด 146 นิวตัน-เมตร/4,800 รอบฯ

ระบบรองรับ(หน้า) แม็คเฟอร์สันสตรัต/เหล็กกันโคลง

ระบบรองรับ(หลัง) ทอร์ชั่นบีมแบบ H-Shape

มิติ(กว้าง x ยาว x สูง) 1,700 x 4,215 x 1,735 ม.ม.

ราคา 894,500-1.0745 ล้านบาท

ที่มา http://forums.thaihondafreed.com/index.php

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รีวิว Mazda 2


หลังจากเปิดเกมปลุกกระแสรถมาสด้า 2 ใหม่จนฮ็อตฮิตติดตลาดไปแล้วสำหรับรุ่นแฮ็ชแบค 5 ประตูและ 4ประตู เพราะมียอดขายสูงถึง 4,000 กว่าคัน โดยเฉพาะรุ่นแรกมีตัวเลขสูงถึง 3,492 คัน ตั้งแต่เปิดตัวมา และเชื่อว่ามาสด้า 2 ยังคงแรงไม่หยุดแม้ว่าจะมีคู่แข่งเปิดตัวประกบเพิ่มขึ้นอีกหลายค่ายในไม่ช้า

เมื่อสินค้ายังร้อนอยู่ ในงานมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา มาสด้ายังนำรถมาสด้า 2 ซีดานมาแต่งเติมเสริมหล่อเพิ่มขึ้นในสไตล์สปอร์ต ภายใต้คอนเซ็ปต์พิเศษ Active2 คือการสะท้อนถึงไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้าและความสปอร์ตที่เป็นเอกลักษณ์โดยนำเอาแนวคิด Japanese Retro และเสริมด้วยภาพลักษณ์ความสำเร็จของมาสด้าในการสนามแข่งขันเลอมังค์ ด้วยรถแข่งหมายเลข 55 ทีได้รับชัยชนะ สร้างชื่อให้มาสด้าโดยเป็นรถสัญชาติญี่ปุ่นแรกและรายเดียวในประวัติการแข่งขัน

อุปกรณ์ตกแต่งประกอบด้วยชิ้นครีบสเกิร์ตหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง และชิ้นโอเวอร์เฟนเดอร์ที่โป่งล้อใช้ชิ้นงานทำจาก Carbon Kevlar ที่มีน้ำหนักเบาให้สไตล์สปอร์ตดุดัน ล้ออัลลอยด์ขนาด 16 นิ้วแนว Retro ที่กลับมาได้รับความนิยมอย่างสูง ชุดท่อไอเสียแบบสปอร์ต ชิ้นกรอบไฟตัดหมอก กระจกข้างและสปอยเลอร์หลังคาตกแต่งด้วยสีเขียวที่รับเข้ากับชุดกราฟฟิคสติกเกอร์ และหมายเลข 55 ของรถมาสด้าจากสนามการแข่งขันเลอมังค์ กระจกติดฟิล์มใสสีเขียวรอบคันให้ความรู้สึกสปอร์ตเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ

ขอบคุณข้อมูลจาก มาสด้า

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิธีเลือกซื้อรถมือสอง แบบมืออาชีพ


หลักเกณฑ์

ในการพิจารณาเลือกซื้อรถมือสองนี้ ผมได้เขียนขึ้นจากประสบการณ์จริงในช่วงหนึ่งที่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องคลุกคลีในธุรกิจรถมือสอง และแรงบันดาลใจอีกประการหนึ่งที่เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาก็คือ ก่อนที่จะดูรถเป็นผมได้ซื้อรถมือสองมาคันหนึ่ง หลังจากนั้นเมื่อได้นำรถไปซ่อมถึงพบว่า…….

รถที่ผมซื้อนั้นเป็นรถที่เกิดอุบัติเหตุหนักพอสมควร จึงทำให้เจ้าของเก่าต้องขายทิ้งไปที่เต้นท์ทันทีและเต้นท์ได้ทำสีและทำความสะอาดทุกอย่างจนดูเหมือนของใหม่ ผมจึงได้หลงซื้อไปใช้ ก็ถือบทเรียนไป หวังว่าท่านที่อ่านๆ บทความนี้แล้ว อย่างน้อยๆ ก็คงรู้แนวทางที่สามารถตรวจสอบรถที่คุณหมายตาไว้ได้ด้วยตนเอง

ซึ่งผมจะแนะนำเฉพาะในสิ่งที่คุณทำได้จริงๆเท่านั้น และเผอิญมันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่คุณต้องตรวจสอบก่อนที่จะซื้อรถคันนั้นนะครับ

และแล้วหลังจากที่ท่านเลือกรุ่นและยี่ห้อได้แล้ว ไม่ว่าท่านจะไปดูรถบ้านประกาศขายเองหรือรถเตนท์นั้นหลักการเบื้องต้นของการเลือกรถมือสอง ผมอยากแบ่งเป็นสามส่วนหลัก ๆ ก่อนคือ

1. Major Defect Check ซึ่งได้แก่ ส่วนของโครงสร้างตัวถัง เครื่องยนต์ ระบบเกียร์ ระบบช่วงล่าง ระบบพวงมาลัย เป็นต้น
2. Minor Defect Check ซึ่งได้แก่ อุปกรณ์ต่างในรถ เช่น สวิชต์ต่างๆ ไฟเลี้ยว กระจกไฟฟ้า วิทยุ แอร์เครื่องเสียง กลไกเบาะ มาตรวัดต่างๆ หรือ อาจเป็น สีรถทั้งภายนอกและภายใน ที่อาจชำรุดทรุดโทรมไปเนื่องจากการใช้งาน หรือ เสียหายจากอุบัติเหตุ
3.Contract & Documentation ได้แก่เรื่องราวเกี่ยวกับสัญญาและเอกสาร รวมถึงดอกเบี้ยและประกันภัยหากซื้อเงินผ่อน




สำหรับบทความนี้จุดประสงค์ของผมต้องการให้คุณตรวจสอบได้ด้วยตนเอง ถึงแม้ไม่มีความรู้มาก่อน จึงอยากนำเสนอในเฉพาะเรื่อง การดูโครงสร้างตัวถังก่อน ส่วนอื่นๆ คุณอาจต้องพึ่งช่างหรือเพื่อนๆ คุณที่พอรู้เรื่องเครื่องยนต์มาช่วยคุณดูด้วยหรือจะใช้บริษัทที่ตรวจสอบรถที่จะพูดถึงภายหลัง

และที่ผมเน้นโครงสร้างตัวถังก็เพราะหากโครงสร้างตัวถังเสียหาย เมื่อซ่อมแซมหรือผ่าตัดมาแล้ว เป็นไปได้ยากที่จะทำให้ทุกอย่างเที่ยงตรงเหมือนโรงงาน และมีผลต่อเนื่องไปถึงระบบอื่นๆอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นช่วงล่าง เกียร์ และอื่นๆ

แต่หาก โครงสร้างตัวถังปกติแล้ว ส่วนอื่นๆ หากเกิดความเสียหาย ยังสามารถซ่อมแซมหรือ เปลี่ยน เพื่อให้สภาพกลับมาสมบูรณ์ดังเดิมได้

เอาล่ะครับ เมื่อคุณตัดสินใจเลือก เต้นท์ หรือ รถบ้านที่คุณจะไปดูได้แล้ว ดูเป็นข้อๆ ตามนี้ไปเลยนะครับ ผมรับรองว่า ถ้าคุณดูผ่านตาไว้ไม่น้อยกว่า 10 คัน ก่อนที่จะซื้อ และถ้าคุณเป็นคนช่างสังเกตุและชอบเรื่องรถยนต์อยู่บ้าง ก็น่าจะเริ่มสังเกตุสิ่งผิดปกติเป็นแล้วหล่ะครับ อาจจะเพียงพอที่จะเลือกซื้อได้ด้วยตนเองแล้วก็ได้ มาเริ่มกันที่


1 . สังเกตุช่องว่าง(Gap)หรือช่องรอยต่อของตัวถัง

ลองเดินดูรอบๆ ตัวถังรถก่อน ในความเป็นจริงคุณอาจไม่สามารถดูรถในบริเวณพื้นที่ที่กว้างขวาง เพื่อที่จะดูแบบ zoom-in , zoom-out ได้อาจเนื่องด้วยขนาดของพื้นที่ของผู้ขายหรือเป็นความจงใจของผู้ขายที่ไม่อยากให้คุณสังเกตุดูอย่างใกล้ชิดก็เป็นได้กลัวว่าคุณจะเห็นข้อบกพร่องของตัวรถ สมมุติว่าเป็นพื้นที่แคบๆ แล้วกัน อย่างตามเตนท์ทั่วไป ที่รถจอดซ้อนๆกันอยู่เยอะ ดูสีหรือแสงที่สะท้อนอาจดูลำบาก ดูการเปรียบเทียบช่องไฟซ้ายขวาก่อน ช่องไฟหรือช่องว่างระหว่างรอยต่อของเหล็กสองชิ้น
ตามรูป เช่น ฝากระโปรง กับ บังโคลน , ฝากระโปรงกับ กระจังหน้า บังโคลน กับ ประตูหน้า รวมถึงช่องไฟทุกช่อง คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า ระยะห่างแค่ไหนถึงปกติ ไม่มีใครรู้หรอกครับผมก็ไม่รู้ เพียงแต่หากเราจะใช้วิธีเปรียบเทียบกัน ด้านซ้ายกับด้านขวา ปกติแล้วช่องว่างหรือช่องไฟ มันจะเท่ากันไม่ว่าจะเป็นประตูหน้า,หลัง หรือ ซ้าย , ขวา
2. เล็งสังเกตุดูที่สีและสังเกตุเงาสะท้อนของสี

อันนี้ดูยากหน่อย เพราะแสงในเตนท์รถบางเตนท์ไม่สว่างนักต้องใช้แสงนีออนร่วมด้วย ถ้าแสงสว่างธรรมชาติเข้ามามากๆ การดูเงาสะท้อนหรือการตกกระทบของแสง จะสังเกตุได้ดีกว่า แต่เอาเถอะหากแสงนีออนก็ไม่เป็นไร ดูเท่าที่ดูได้ดีกว่า คุณดูเงาสะท้อนในสีรถหากบางจุดเรียบ บางจุดดูคล้ายเป็นลอนคลื่น

แต่หาก ช่างซ่อมมาดี คุณอาจสังเกตุไม่เห็นก็ได้ หากไม่มีประสบการณ์มากพอ แต่เราใช้เกณฑ์วัดจากสายตาคุณ ไม่ใช่สายตาของผุ้มีประสบการณ์สูง หากรอดพ้นสายตาคุณ ก็อาจเป็นได้ว่า ไม่มีการซ่อมแซมหรือซ่อมแซมมาดีจน ไม่มีปัญหาใดๆ ก็ได้

เอาล่ะครับลองไล่ดูตั้งแต่ แนวบังโคลน ประตู และส่วนท้ายของรถดู คร่าว การสะท้อนเของเงาและสีเป็นอย่างไร คุณอาจไม่รุ้ว่ามาตรฐานมันเป็นอย่างไร เอาอะไรมาอ้างอิง ไม่ต้องซีเรียสขนาดนั้น สังเกตุดู การสะท้อน ดังรูป

เปรียบเทียบกันระหว่าง พื้นที่ต้องสงสัย เปรียบเทียบกับพื้นที่ข้างๆ ครับ คุณต้องไล่ดูรอบๆคันช้าๆ เที่ยวแรกไม่เห็นไม่เป็นไร เดินอีกเที่ยว การค่อยๆดูทำให้คุณต้องโฟกัส สายตาและสมาธิไปกับตัวถังรถ ไล่ๆไปเรื่อยๆ อยู่แล้ว

ทำให้คุณเห็นความผิดปกติ (หากมี) ได้โดยอัตโนมัติ…. ส่วนของตัวถัง ส่วนที่เป็นโค้งมนน่ะครับเวลาเคาะหรือซ่อม ถ้าทำไม่ดี มันจะเห็นความแตกต่างเล็กน้อยถ้าสังเกตดีๆ ต้องใช้การสะท้อนเงาช่วยดูด้วย


แต่ถ้าไม่เห็นความผิดปกติใดๆ เลย ก็อาจเป็นไปได้ว่า ซ่อมมาอย่างดี หรือ ไม่เคยเกิดการเฉี่ยวชนมาก่อน ในเรื่องของ สีตัวรถนั้น ผมอาจจัดให้อยู่ในหมวด Minor defect check ก็ได้ แต่ที่จัดให้อยู่หมวดนี้ บางที การซ่อมแซมสีนั้นอาจหมายถึงการชนหนักมาก็ได้ เอาล่ะครับหากเห็นสิ่งผิดปกติเล็กน้อย ก็ไม่เป็นไร คุณทำตามผมเป็นข้อๆ ไปก่อน เดี่ยวเราค่อยมาสรุปกันภายหลัง

3. สังเกตุที่สันเหลี่ยม( Ridge & Line )ของตัวรถ

หากรถคันที่ท่านต้องการมีสันเหลี่ยม หรือ สันด้านข้างยอดนิยม อย่างเช่น BMW หรือ Benz หรืออีกหลายยี่ห้อก็นิยมมีสันแนวด้านข้าง ไล่สายตาสังเกตุดู เทียบด้านซ้ายกับด้านขวา น่ะครับ สันเหลี่ยมของรถคันเดียวกันซ้ายขวา ต้องมีความคมชัดที่เท่ากันทั้งสองด้าน ไล่ดูตั้งแต่บังโคลนหน้า ผ่านประตู ไปจนถึงส่วนท้าย

และอย่าลืมมอง แนวสันบนฝากระโปรงหน้าด้วยหากมี ดูทั้งสองด้าน บางเตนท์นิยมซื้อรถที่ชนหนักมาราคาถูกแล้วซ่อมโดยวิธีตีเคาะเหล็กชิ้นเดิมโดยไม่เปลี่ยนเหล็กชิ้นใหม่ หากทำมาไม่เนียนจริงเราพอจะสังเกตุหรือจับผิดได้

4.ดูด้านในฝากระโปรงหน้า หลัง

ฝากระโปรงหน้า เมื่อคุณเปิดแล้ว ลองดู ตรงนี้ บริเวณ รูกลม ระหว่างเหล็ก 2 ชิ้นมันซ้อนเหลื่อมกันอย่างเห็นได้ชัดหรือเปล่า และ น็อตที่ใช้ไขระหว่าง บังโกลน กับ ส่วนเฟรมตังถัง มีรอยบิ่นเหมือนถูกไข หรือ หัวน็อตสีไม่เหมือนกัน แสดงถึงการแกะ แงะ เพื่อ ทำอะไรบางอย่างหรือเปล่า หรือบางครั้งเกิดชนขึ้นมาประกันชั้นหนึ่งอาจเปลี่ยนบังโคลนไปเลย ซึ่งก็ถือว่าดีกว่าซ่อม ดูไว้ก็ดีแต่อย่าไปใส่ใจมากนัก

รีวิว BMW 318iase E46 3


รูปแผงคอนโซลกลางแบบเดิมๆ มีช่องใส่เทปคาสเซทมาให้ แต่ไม่มีช่องเสียบสำหรับต่อเครื่องเล่น MP3 เล่นซีดีได้ 6 แผ่น (โหลดที่ท้ายรถ) แต่เล่นแผ่น MP3 ไม่ได้ ปกติผมใช้ cassette adapter มาต่อกะพวกเครื่องเล่น MP3 เอาเอง ระบบเครื่องเสียงแบบปรับระดับความดังของเสียงอัตโนมัติตามความเร็วรถที่วิ่งในขณะนั้น ระบบเสียงสำหรับผมโอเคครับ ไม่ได้รู้สึกว่าแย่อะไร แต่บางคนอาจจะอยากเปลี่ยนใหม่

รีวิว BMW 318iase E46


จุดสีแดงๆเล็กๆทางขวามือคือก้านเช็คระดับน้ำมันเครื่องครับ ไม่มีก้านเช็คระดับน้ำมันเกียร์นะครับ (เห็นช่างบอกว่าเป็นปกติของบีเอ็ม ... อือมม แปลกดี) ต้องสังเกตเอาเองว่ามีอะไรหยดๆใต้ท้องเครื่องป่าว (คงดีกว่ารอจนมีสัญญาณอะไรเตือนบนหน้าจอน่ะผมว่า) ชิ้นส่วนหลายๆอย่างเช่น กรองอากาศ กระปุกน้ำมันเพาว์เวอร์ ถูกแผงสีดำที่มีตราบีเอ็มฯบังอยู่ จะเช็คพวกนี้ต้องถอดแผงนี้ออก ... ยังดีว่าที่เติมน้ำหม้อน้ำไม่ได้โดนบังด้วยแผงอันนี้ (ฝาวงกลมสีดำทางล่างขวาของแผงนี้ คือที่เติมน้ำหม้อน้ำครับ ซึ่งก็คือส่วนปากของกระปุกพักน้ำหม้อน้ำนั่นเอง) กล่องขาวๆทางซ้าย คือกระปุกน้ำฉีดกระจกมีมอเตอร์ฉีดน้ำอยู่ข้างๆ คันนี้ผมเพิ่งเปลี่ยนตัวมอเตอร์ฉีดน้ำปัดน้ำฝนไปหลังจากที่ซื้อมาได้หนึ่งอาทิตย์ เนื่องจากมันรั่ว เห็นช่างบอกว่ารั่วเป็นประจำ เพราะมันอยู่ใกล้เครื่อง ความร้อนมันสูง

รีวิว BMW 318iase E46 1


ผมใช้งานคันนี้ไปแล้วประมาณ 7,000 กม. (เข็มไมล์อยู่ที่ 80,500 กม.) ในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือนที่ผ่านมา รูปรถภายนอกโดยรวมครับ
รุ่นนี้เป็นรุ่น minor change นิยมเรียกกันว่า รุ่นตายก ข้อมูลด้านล่างนี้มาจากคู่มือรถนะครับ
• เครื่องรหัส N42 แบบ 4 สูบ 1995cc
• น้ำหนักรถ + น้ำมัน 80% ไม่รวมอุปกรณ์เพิ่มเติม หนัก 1350 กิโลกรัม
• 143 แรงม้าที่ 6000 rpm
• แรงบิดสูงสุด 200 N-m ที่ 3750 rpm
• อัตราเร่ง จาก 0 – 100 อยู่ที่ 10.2 วินาที (ไม่เคยลองครับ)
• ความเร็วสูงสุด 214 กม./ชม. (นี่ยิ่งไม่เคยลอง และไม่อยากลอง ...)
• ความจุถังน้ำมัน (รวมปริมาณสำรอง 8 ลิตร) = 63 ลิตร
• ปริมาณน้ำมันเครื่อง = 4.25 ลิตร
• ปริมาณน้ำของระบบหล่อเย็น = 7 ลิตร
• อัตราการกินน้ำมัน (อันนี้จากการใช้งานจริงครับ) วิ่งในเมือง ความเร็วในช่วง 60-90 เฉลี่ยได้ประมาณ 7.5-7.9 กม./ลิตร (ผมขับเรื่อยๆ ไม่ค่อยคิกดาวน์ครับ) ขับต่างจังหวัดล่าสุดช่วงสงกรานต์ไปแถวๆเขาใหญ่ ความเร็วในช่วง 100-120 นั่ง 5 คน (ช 1 ญ 4) ทำได้ 11.8 กม./ลิตร
• น้ำมันเกรดต่ำสุดที่ใช้ได้คือ 91 (ตามคู่มือ) เห็นหลายคนใช้แก๊สโซฮอล์ 95 ก็ว่าใช้ได้ดีไม่มีปัญหา ส่วนคันนี้ผมใช้น้อยจึงเติมเบนซิน 95 ถ้าหาไม่ได้จริงๆก็จะเติมเบนซิน 91 ครับ

รีวิว : Mitsubishi Eclipse GS (4G


Spec คันนี้ ก็ตามนี้ครับ
- รุ่น GS เครื่อง 2.4 ลิตร 4 สูบ 163 hp
- รุ่นพื้นสุดๆ ไม่มี option อะไรเพิ่มเลย -_-“ (อย่างเช่น sunroof, เบาะหนัง หรือ เครื่องเสียง Rockford Fosgate 650 watt)
- Wheel base 2,575 มม.
- ยาว 4,565 มม.
- กว้าง 1,835 มม.
- สูง 1,358 มม.

ความรู้สึกครั้งแรกที่ได้ขับก็คือ... รถมันเตี้ยมากๆเลยครับ (คันก่อนเป็น CR-V -_-“) ทัศนวิสัยค่อนข้างแย่ ถึงแย่มาก มองหน้ารถไม่เห็น มองหลังรถก็ไม่เห็น เพดานเตี้ย รู้สึกอึดอัดพอสมควร แต่เก้าอี้นั่งค่อนข้างสบายเพราะเป็นแบบ bucket seat และมี lumbar support ด้วย

ที่ถูกใจก็คงเป็นความสนุกในการขับ การเร่ง การเข้าโค้ง ถึงจะเป็นแค่เครื่อง 4 สูบ 163 แรงม้า แต่ก็ขับสนุกสมฐานะ เพราะไม่ได้กะจะเอาไปแข่งกับใครที่ไหนอยู่แล้ว ขับไปที่ทำงาน-บ้าน แล้วก็ซื้อของเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น